ภาษีความหวาน คืออะไร?

ภาษีความหวาน คืออะไร?

ภาษีความหวาน กลไกสร้างสุขภาพคนไทยด้วยมาตรการภาษี ได้เดินหน้าเข้าสู่ระยะที่ 3 ในวันที่ 1 เม.ย.2566 ตามแนวทางปรับโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่ใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ส่วนเครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ที่ให้ความหวานตัวใดต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นบ้าง ?

 

อัตราภาษีเครื่องดื่มรสหวาน

อัตราภาษีความหวานคํานวณจากปริมาณน้ําตาลต่อ 100 มิลลิลิตร โดยอัตราภาษีความหวานของเครื่องดื่มที่กรมสรรพสามิตใช้จะแบ่งเป็น 4 ระยะ ซึ่งค่อย ๆ เพิ่มอัตราภาษีในแต่ละระยะ เพื่อให้ เวลาผู้ประกอบ การที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มรสหวานได้ปรับตัว

โดยปัจจุบันเราอยู่นะระยะที่ 3 (ระหว่าง 1 เมษายน 2566 – 30 กันยายน 2567) อัตราภาษีความหวาน มีรายละเอียดดังนี้

  • ต่ำกว่า 6 กรัม ไม่ต้องเสียภาษี
  • 6-8 กรัม เสียภาษี 0.3 บาทต่อลิตร
  • 8-10 กรัม เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร
  • 10-14 กรัม เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร
  • 14-18 กรัม เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร

ระยะที่ 4 เริ่มใช้ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป มีอัตราภาษีความหวาน ดังนี้:

  • ต่ำกว่าว่า 6 กรัม ไม่ต้องเสียภาษี
  • 6-8 กรัม เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร
  • 8-10 กรัม เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร
  • 10-14 กรัม เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร

ภาษีความหวานจะมีการปรับขึ้นเป็นอัตราก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ 2 ปี ซึ่งระยะที่ 3 จะมีผล 1 เมษายนนี้แล้ว ถ้าผู้ประกอบการไม่ปรับตัวในการผลิต โดยลดความหวานลงจะเสียภาษีเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องดื่มที่มีสารความหวาน 10-14 กรัมต่อลิตร จะเสียภาษีเพิ่มจาก 1 บาท เป็น 3 บาทต่อลิตร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้ผลิตทยอยลดปริมาณน้ำตาลลงแล้ว ซึ่งจะไม่ทำให้มีภาระภาษีเพิ่มแต่อย่างใด

 

แหล่งที่มา prachachat.net