ธปอ.ศึกษาเทคโนโลยี NFC หวังกระตุ้นการชำระเงินดิจิทัล 2.5 เท่าตามเป้า
แบงก์ชาติเผยอยู่ระหว่างศึกษาการนำเทคโนโลยี NFC มาใช้กับระบบพร้อมเพย์ หวังช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรม หนุนปริมาณการโอนชำระเงินของคนไทยผ่านระบบดิจิทัลโตเพิ่มเป็น 800 ครั้งต่อคนต่อปีตามเป้า
ปัจจุบันคนไทยเราชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลอยู่ที่ 500 ครั้งต่อคนต่อปี เติบโตขึ้นมาจาก 300 กว่าครั้งต่อคนต่อปีในช่วงเริ่มแผน การจะไปให้ถึงเป้าหมายที่ 800 ครั้งต่อคนต่อปี การชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัลของคนไทยจะต้องเพิ่มขึ้นอีก 300 ครั้งต่อคนต่อปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก
การนำเทคโนโลยี NFC เข้ามาใช้กับระบบพร้อมเพย์นั้นเป็นแผนการพัฒนาระบบดิจิทัล ของ ธปอ. ที่มีเป้าหมายจะขยายการชำระเงินดิจิทัลให้เพิ่มขึ้น 2.5 เท่า หรือคิดเป็น 800 ครั้งต่อคนต่อปี นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่จะขยายร้านค้าที่รับชำระเงินผ่านระบบQR Code ที่มีอยู่แล้วมากกว่า 8.7 ล้านจุด ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติใช้งานระบบ QR Code มากขึ้น พร้อม เพิ่มประสิทธิภาพให้รวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกมากขึ้น
คุณ ดารณี แซ่จู ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในระบบราว 2.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นต้นทุนการผลิต การกระจาย และทำลาย รวมประมาณ 5 หมื่นล้านบาทต่อปี ดังนั้นหากคนไทยหันมาทำใช้ธุรกรรมการเงินแบบดิจิทัลกันมากขึ้น ต้นทุนส่วนนี้ก็จะลดลง
“เราอยากเห็นดิจิทัลเป็นทางเลือกหลักในการทำธุรกรรมของคนไทย ไม่เฉพาะประชาชน แต่รวมถึงภาคธุรกิจและภาครัฐด้วย ซึ่งในส่วนของภาคธุรกิจปัจจุบันก็มีการพัฒนาระบบพร้อมบิซขึ้นมารองรับแล้ว อย่างไรก็ดี แนวทางของเราไม่ใช่คำว่า Cashless แต่เป็น Less Cash ไปเรื่อยๆ เพราะแม้แต่ในประเทศที่พัฒนาไปไกลแล้ว เช่น ในสแกนดิเนเวียก็พบว่าเงินสดยังมีความจำเป็นต้องมีอยู่เช่นกัน” ดารณีกล่าว ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. กล่าว
เทคโนโลยี NFC คืออะไร?
ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ระบุว่า NFC เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะสั้น (Short-Range Wireless Technology) ใช้คลื่นความถี่ 13.56 เมกะเฮิรตซ์ บนพื้นฐานมาตรฐาน ISO 14443 (Philips MIFARE and Sony’s FeliCa) ใช้ส่งข้อมูลได้ระยะประมาณ 4-10 เซนติเมตร มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงสุด 424 กิโลบิตต่อวินาที และมีความเร็วในการติดต่อเริ่มต้นต่ำกว่า 0.1 วินาที ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวจึงทำให้เทคโนโลยี NFC ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานเพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระยะใกล้ๆ ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมอย่างมากและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ
หนึ่งในรูปแบบการใช้งานของ NFC คือ Card Emulation Mode ซึ่งเป็นโหมดที่จะทำให้อุปกรณ์ที่รองรับ NFC อย่างสมาร์ทโฟน ทำงานเสมือนเป็นบัตรที่ผู้ใช้งานแค่แตะกับอุปกรณ์อ่านข้อมูลหรือตัวรับสัญญาณ โดยไม่ต้องสัมผัสกับเครื่องโดยตรง (Contactless) ก็สามารถชำระค่าสินค้าและบริการได้
ข้อควรระวังของ NFC
อย่างไรก็ดี การใช้งานเทคโนโลยี NFC ก็มีข้อควรระวัง เนื่องจากระบบการทำงานของ NFC ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่ได้มีการตรวจสอบหรือยืนยันตัวบุคคลที่ซับซ้อนมาก ผู้ใช้งานควรตระหนักอยู่เสมอว่าระบบที่ใช้งานอยู่อาจไม่มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ดีพอ จึงควรใช้งานด้วยความระมัดระวัง ดังนี้
- ก่อนการใช้งานควรตรวจสอบอุปกรณ์อ่านข้อมูลหรือตัวรับสัญญาณ NFC ว่ามีอุปกรณ์แปลกปลอมติดตั้งอยู่หรือไม่
- ไม่ควรนำสมาร์ทโฟนไปแตะเข้ากับอุปกรณ์อ่านข้อมูลหรือตัวรับสัญญาณที่น่าสงสัย
- เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ควรปิดการเชื่อมต่อ NFC เพื่อป้องกันการขโมยข้อมูล
- ระมัดระวังในการเก็บข้อมูลสำคัญไว้ในสมาร์ทโฟน
- ควรกำหนดรหัสผ่านสำหรับการใช้งานสมาร์ทโฟน เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลไปใช้ในกรณีที่ทำสมาร์ทโฟนสูญหาย
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NFC >>> ทำความรู้จักกับ NFC เทคโนโลยีด้านการเงิน ที่จะส่งผลกับการใช้ชีวิต – PINNACLE (pinnacle-amc.co.th)