การรีไฟแนนซ์ (Refinance) คืออะไร?

การรีไฟแนนซ์ (Refinance) เป็นการจัดการกับสัญญากู้ยืมเงินที่มีอยู่ใหม่ โดยการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญาเดิม เป็นการยื่นขอสินเชื่อใหม่เพื่อใช้เงินใหม่เพื่อชำระสินเชื่อเดิม โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อลดอัตราดอกเบี้ยหรือปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการเงินปัจจุบัน หรือเพื่อให้ได้ประโยชน์จากเงื่อนไขการกู้ยืมที่ดีกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย เปลี่ยนจากดอกเบี้ยแบบเปลี่ยนแปลงได้ (Adjustable-rate mortgage) เป็นดอกเบี้ยแบบคงที่ (Fixed-rate mortgage) หรือเพิ่มระยะเวลาการผ่อนชำระเงิน เป็นต้น การรีไฟแนนซ์มักจะมีการใช้ทรัพย์สินที่มีค่าเป็นประกัน เช่น บ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ และจะทำได้เมื่อมีการผ่อนชำระมาแล้วมากกว่า 3 ปี หรือตามธนาคารกำหนด

ประโยชน์ของการรรีไฟแนนซ์
1. ลดดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย : ส่วนมากแล้วเรื่องการลดดอกเบี้ยเป็นเห็ตผลหลักๆในการขอรีไฟแนนซ์เมื่อธนาคารใหม่ให้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า
เช่น ธนาคารเดิมคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 6 แต่สัญญาใหม่อยู่ที่ ร้อยละ 3.5 ส่งผลให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าลดลงไปอย่างมากเลยครับผ
2. หักเงินต้นได้มากขึ้น : นอกจากดอกเบี้ยจะลดลงแล้วหากเมื่อผ่อนชำระได้ในยอดเดิมก็จะหักเงินต้นได้มากขึ้นอีกด้วย
3. เพิ่มหรือลดระยะเวลาการผ่อนชำระ : สามารถปรับแผนการจ่ายได้ตามสภาพคล่องของท่านได้

 

ยกตัวอย่างการรีไฟแนนซ์ กับการไม่รีไฟแนนซ์ ให้เห็นจำนวนเงินที่แตกต่างกัน

รายการ ไม่รีไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์
ยอดหนี้คงเหลือ (บาท) 2,500,000 2,500,000
อัตราดอกเบี้ย (เดือน) 5% 4%
ระยะเวลาผ่อนชำระ (ปี) 20 20
เงินผ่อนชำระต่อเดือน (บาท) 19,177 17,416
รวมค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย (บาท) 1,821,724 735,893
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น (บาท) 5,321,724 4,235,932

 

ตารางอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารไหนดี 2567 ประจำเดือน มีนาคม

ดอกเบี้ยต่ำสุดเฉลี่ย 3 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด
1.ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
3.34% วงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมิน (สำหรับลูกค้าที่ทำประกัน MRTA/MLTA และไม่ฟรีค่าจดจำนอง)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 8.800% (ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2566)

2.ธนาคารไทยพาณิชย์
3.42% ไม่เกินวงเงินสินเชื่อเคหะเท่ายอดหนี้เดิม

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.300% (ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2566)

3.ธนาคารกสิกรไทย
3.45%
ไม่เกิน 100% ของราคาประเมินหลักประกัน (วงเงินกู้ ตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป กรณีทำประกันตามเงื่อนไข)
 
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.3000% (ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2566)
4.ธนาคารทหารไทยธนชาต
3.50% วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 50,000,000 บาท (สำหรับลูกค้าที่รับเงินเดือนผ่านบัญชี TTB และทำประกันตามเงื่อนไข)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.830% (ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2566​)

5.ธนาคารกรุงเทพ
3.50% วงเงินกู้สูงสุดเท่ากับ 100% ของภาระหนี้คงเหลือ (วงเงินอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป กรณีหลักทรัพย์เป็นที่อยู่อาศัยในกลุ่มโครงการที่มีข้อตกลงกับธนาคาร และทำประกันตามเงื่อนไข)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.300% (ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน 2566)

6.ธนาคารอาคารสงเคราะห์
 
3.58%

วงเงินให้กู้สูงสุดไม่เกิน 2,500,000 บาทต่อรายต่อหลักประกัน (กรณีทำประกันตามเงื่อนไข)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.900% (ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2566)

 
7.ธนาคารกรุงไทย
3.60% วงเงินกู้สูงสุด 100% (กรณีที่ทำประกัน)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.570% (ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2566​)

8.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
3.85% วงเงินกู้สูงสุด 95% ของราคาประเมิน (สำหรับหลักประกันประเภท บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม ห้องชุดพักอาศัย ตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.400% (ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2566)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ การรีไฟแนนซ์ (Refinance) หรือขอลดดอกเบี้ยบ้านนั้น สามารถช่วยประหยัดดอกเบี้ยให้ผู้ขอสินเชื่อได้อย่างมากก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าการรีไฟแนนซ์จะสามารถลดดอกเบี้ยได้เสมอไป ดังนั้นก่อนจะรีไฟแนนซ์ แนะนำให้ผู้ขอสินเชื่อศึกษารายละเอียดของสินเชื่ออย่างละเอียดรอบคอบ โดยประเด็นหลักที่จะต้องพิจารณา คือ อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสินเชื่อของสินเชื่อรีไฟแนนซ์จะต้องต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตลอดสินเชื่อปัจจุบัน อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์ (Refinance) เช่น ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง ค่าอากร ค่าประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ รวมไปถึง ค่าประกันอัคคีภัยหรือประกันสินเชื่อ (MRTA) ซึ่งมีเงื่อนไขแตกต่างกันตามแต่ละธนาคาร ที่สำคัญอย่าลืมต้องตรวจสอบเงื่อนไขการไถ่ถอนสินเชื่อจากธนาคารเดิมด้วยว่ากำหนดให้ผู้ขอสินเชื่อสามารถรีไฟแนนซ์ได้ตั้งแต่ปีที่เท่าไรของการกู้ เพราะมิฉะนั้นแล้วผู้กู้จะต้องถูกปรับจากธนาคารเดิม หากผู้ขอสินเชื่อไถ่ถอนหนี้ก่อนกำหนด