เมื่อเจ้าของบัตรเครดิตเสียชีวิต ใครต้องรับผิดชอบหนี้?

กระทรวงยุติธรรม เสนอกฎหมายน่ารู้ ตอน : เมื่อเจ้าของบัตรเครดิตเสียชีวิต ใครต้องรับผิดชอบหนี้ ?

  • บิดาหรือมารดาเป็นเจ้าของบัตรเครดิตผู้มีหน้าที่รับภาระต้องเป็น “บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย” เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ชำระหนี้ได้ แต่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่จำเป็นต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน หากไม่มีทรัพย์มรดกตกทอด บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
  • คู่สมรสเป็นเจ้าของบัตรเครดิตกรณีที่มีการจดทะเบียนสมรส และหนี้บัตรเครดิตเกิดขึ้นภายหลังการสมรส สามีหรือภรรยาของคู่สมรสที่เสียชีวิต อาจต้องเป็นผู้รับผิดชอบหนี้สิน ก้อนนั้น ๆ หากพิสูจน์ได้ว่า หนี้ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายร่วมกันในระหว่างสมรส ซึ่งถือว่าเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยา
  • ผู้ถือบัตรเสริมเนื่องจากบัตรเสริมและบัตรหลักของบัตรเครดิตนั้น “ใช้วงเงินร่วมกัน” จึงต้องร่วมกันรับผิดชอบหนี้บัตรเครดิตทั้งนี้ หนี้บัตรเครดิต มีอายุความ 2 ปี นับแต่มีการชำระหนี้แก่สถาบันการเงินครั้งสุดท้าย และเป็น “คดีแพ่ง” ไม่ใช่คดีอาญาจึงไม่มีโทษจำคุก แต่หากไม่ชำระหนี้ สถาบันการเงินมีสิทธิบังคับคดีด้วยการยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดหรือหักเงินเดือน

ข้อมูลจาก : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 มาตรา 1627มาตรา 1629 มาตรา 1490 มาตรา 193/34 (7)

อ้างอิง : กระทรวงยุติธรรม MINISTRE OF JUSTICE (moj.go.th)