Author name: Pinnacle-edit

ทำความรู้จักกับ MRR หรือ Minimum Retail Rate

สำหรับหลายๆคนที่กำลังจะซื้อบ้านหรือมีการเตรียมที่จะกู้เงินระยะยาว ผมเชื่อว่าคุณจะต้องได้ยินหรืออ่านเจอกับคำว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR กันอย่างแน่นอนใช่มั้ยหล่ะครับ แล้วไหนจะ MMR กับ MLR อีก ซึ่งตัวอักษรเหล่านี้เป็นเรื่องที่ควรจะต้องศึกษาเพื่อเป็นผลประโยชน์กับตัวคุณเอง เพราะความรู้เหล่านี้มันจะช่วยให้คุณประหยัดมากขึ้นนั่นเองครับ เอาหละเรามาเริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักกับ MRR หรือ Minimum Retail Rate กันดีกว่าครับ MRR หรือ Minimum Retail Rate  มันเป็นชื่อเรียกของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยนั่นเองครับ ซึ่งMRRจะถูกนำมาใช้กับเงินกู้ประเภทที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนยกตัวอย่างนะครับ สินเชื่อส่วนบุคคล,สินเชื่อบ้าน,สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้นครับ แล้วนอกจากอัตราดอกเบี้ย MRR แล้วยังมีอัตราดอกเบี้ย MLR และอัตราดอกเบี้ย MOR อีกด้วยครับ โดยสินเชื่อที่ทำนั้นเองจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไปตามที่ธนาคารแต่ละแห่งกำหนด แต่ต้องสอดคล้องกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นครับ อัตราดอกเบี้ย MRR เป็นดอกเบี้ยที่จะถูกนำมาใช้กับบุคคลทั่วไปที่เป็นรายย่อยครับ มักใช้กับสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบ้านครับ ดอกเบี้ยประเภทนี้จะมีอัตราการอนุมัติง่ายกว่าอัตราดอกเบี้ยอื่นๆ บวกกับมีความไม่แน่นอนสูง จึงทำให้ดอกเบี้ยสูงกว่า MLR อีกทั้งยังมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ง่ายกว่าอีกด้วย อัตราดอกเบี้ย MLR เป็นดอกเบี้ยที่จะถูกนำมาใช้กับลูกค้ารายใหญ่ที่เข้ามากู้แล้วมีประวัติการชำระเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันมักใช้กับการกู้ที่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอนครับ แต่มีกรณีที่ธนาคารจะให้อัตราดอกเบี้ย MLR กับลูกค้าทั่วไปด้วยนะครับ ซึ่งทางธนาคารจะเสนอให้ก็ต่อเมื่อเป็นการกู้สินเชื่อระยะยาวที่มีระยะเวลากำหนดไว้แน่นอน อัตราดอกเบี้ย …

ทำความรู้จักกับ MRR หรือ Minimum Retail Rate Read More »

ทำความรู้จักกับ “เครดิตสกอริ่ง (Credit Score)”

ตอนนี้การไปตรวจเครดิตบูโร ไม่ได้มีแค่การเช็กประวัติการชำระหนี้รายบัญชีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการตรวจ “เครดิตสกอริ่ง (Credit Score)” ด้วย เป็นบริการสำหรับลูกหนี้ที่ต้องการเข้าใจสถานการณ์เครดิตของตัวเองให้ลึกที่สุด ด้วยมุมมองเดียวกับที่สถาบันการเงินใช้ประเมินผู้ขอสินเชื่อ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “เครดิตสกอริ่ง (Credit Score)” เครดิตสกอริ่ง (Credit Score) คืออะไร? “Credit Score” (บ้างเรียกว่า “คะแนนเครดิต” หรือ “เครดิตสกอริ่ง”) คือเครื่องหมายหรือตัวเลข ที่เป็นผลรวมจากการประเมินข้อมูลทางสถิติของลูกค้ารายใดรายหนึ่ง ว่ามีโอกาสที่จะไม่ผิดนัดชำระหนี้ที่ก่อไว้ โดยคำนวณจากประวัติการก่อหนี้ และพฤติกรรมการชำระหนี้ในอดีตของคน ๆ นั้น ซึ่งถูกประเมินด้วยกระบวนการทางสถิติ โดยสถาบันการเงินจะ Credit Scoring เพื่อประกอบการอนุมัติสินเชื่อ Credit Scoring แบ่งเป็น 8 ระดับ เรียงจากมีโอกาสผิดชำระหนี้มากที่สุดระดับ HH ไปสู่โอกาสผิดชำระหนี้น้อยที่สุดระดับ AA ตั้งแต่คะแนน 300-900 Credit Score ของเรา ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ เทียบกับวงเงินสินเชื่อ ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ รวมแต่ละประเภทสินเชื่อ จำนวนบัญชีสินเชื่อที่เพิ่งเปิด จำนวนเงินคงค้างล่าสุด ความยาวของประวัติสินเชื่อ จำนวนบัญชีที่มีประวัติชำระหนี้ที่ดี …

ทำความรู้จักกับ “เครดิตสกอริ่ง (Credit Score)” Read More »

แนะนำ 7 แอป ตรวจเครดิตบูโร ด้วยตนเอง พร้อมขั้นตอนใช้งาน

จะดีกว่ามั้ยถ้าเราสามารถตรวจเครดิตบูโรได้เองด้วยวิธีที่ง่ายดายและราคาสบายกระเป๋า ไม่ต้องไปเสียเงินหลายต่อและรอเวลานาน โดยค่าใช้จ่ายขึ้นกับว่าต้องการรายงานข้อมูลเครดิตรูปแบบไหน ถ้ารายงานข้อมูลเครดิต ค่าธรรมเนียม 150 บาท ส่วนรายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต (เครดิตสกอริ่ง) ค่าธรรมเนียม 200 บาท ที่สำคัญรู้ผลทันที (Realtime) 1.ตรวจเครดิตบูโร ผ่านแอป “ธนาคารกรุงเทพ” รู้ผลทันที ให้บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโรผ่านธนาคารกรุงเทพรู้ผลทันที เลือกเมนู “ธุรกรรม” และเลือก “ขอตรวจเครดิตบูโร” เลือกประเภทรายงานได้ 2 แบบ – รายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต (เครดิตสกอริ่ง) – รายงานข้อมูลเครดิต อ่านข้อกำหนดและเงื่อนไข และกดยอมรับ ตรวจสอบข้อมูล/แก้ไขที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารทั้งอีเมลและที่อยู่กรณีส่งอีเมลไม่สำเร็จ (หมายเหตุ: หากจัดส่งไปที่อีเมลไม่สำเร็จภายใน 3 วัน นับจากวันทีส่งคำขอ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะจัดส่งเอกสารให้ทางไปรษณีย์) ตรวจสอบคำขอรายงานข้อมูลเครดิตพร้อมค่าใช้จ่าย – รายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต (เครดิตสกอริ่ง) ค่าธรรมเนียม 200 บาท – รายงานข้อมูลเครดิต ค่าธรรมเนียม 150 บาท ขอยืนยันตัวตนการทำรายการผ่านระบบ NDID ระบบแสดงรายการคำขอยืนยันตัวตน …

แนะนำ 7 แอป ตรวจเครดิตบูโร ด้วยตนเอง พร้อมขั้นตอนใช้งาน Read More »

ธปท. จัด Media Briefing เรื่อง สถานการณ์ “หนี้” ครัวเรือนและความคืบหน้าแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดย คุณสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน

สรุปประเด็น สถานการณ์ “หนี้” ครัวเรือนและความคืบหน้าแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท. ติดตามสถานการณ์ หนี้ ครัวเรือนใกล้ชิดและผลักดันการดําเนินการตามมาตรการแก้ หนี้ ระยะยาว กับเจ้าหนี้อย่างต่อเนื่องทุกเดือน เพื่อให้เจ้าหนี้ยังให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ให้กลับมาฟื้นตัวได้ โดยสัดส่วน หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ทยอยลดลงจากที่เร่งตัวสูงในช่วงโควิด โดย ณ ไตรมาส 1 ปี 2566 หนี้ครัวเรือนอยู่ ที่ 16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.6% ต่อ GDP (เพิ่มขึ้นจากการปรับข้อมูลให้ครอบคลุมผู้ให้กู้เพิ่มขึ้น ซึ่ง เป็นหนี้ที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่หนี้ที่เพิ่งเกิดใหม่ โดยจากข้อมูลชุดใหม่ หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 4 ปี 2565 อยู่ที่ 91.4%) ขณะที่จํานวนบัญชีและยอดหนี้ของสินเชื่อที่ค้างชําระเกิน 90 วัน จากผลกระทบของโควิด (ลูกหนี้รหัส 21) ล่าสุดได้ทยอยปรับลดลงจากจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2565 แล้ว …

ธปท. จัด Media Briefing เรื่อง สถานการณ์ “หนี้” ครัวเรือนและความคืบหน้าแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดย คุณสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน Read More »

หนี้ครัวเรือนไทยพุ่ง หวังพรรคการเมืองชูนโยบายแก้หนี้แบบตรงกลุ่มเป้าหมาย

หนี้ครัวเรือนไทยพุ่ง หวังพรรคการเมืองชูนโยบายแก้หนี้แบบตรงกลุ่มเป้าหมาย ภาพรวมหนี้ครัวเรือนของไทยขณะนี้อยู่ที่ 15 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 87% ของจีดีพี เกินระยะอันตรายของหนี้ครัวเรือนคือ 85% แล้ว ขณะที่ เป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการให้หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับ 80% ของจีดีพี หนี้ในระบบเครดิตบูโรอยู่ที่ 13 ล้านล้านบาท ในจำนวน 32 ล้านคน และพบว่า  9.8 แสนล้านบาท “เป็นหนี้ที่เสีย” บางคนโดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ภาคบริการต่างๆ ก่อนช่วงโควิด-19 ที่ภาคการท่องเที่ยวเติบโตลูกหนี้กลุ่มนี้อยู่ในระดับเกรดเอ แต่ ณ วันนี้ กลับติดกับดักหนี้เสีย คือกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด โดย มีอยู่ราว 3.1 ล้านคน มูลค่าหนี้กว่า 3.3 แสนล้านบาท เข้าใจนโยบาย “พักหนี้” แต่ควรดูให้รอบด้าน นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโร ขยายความคำว่า “พักหนี้”  หรือ “พักการชำระหนี้” คือ เมื่อหนีถึงกำหนดแต่ยังไม่ต้องจ่าย ก็ไม่ถือว่ามีความผิด แต่เมื่อพักแล้ว เจ้าหนี้จะจัดการกับก้อนหนี้อย่างไร ดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร ตรงนี้ต้องวางมาตรการให้ชัดเจนและมีความประณีต …

หนี้ครัวเรือนไทยพุ่ง หวังพรรคการเมืองชูนโยบายแก้หนี้แบบตรงกลุ่มเป้าหมาย Read More »

ภาษีความหวาน คืออะไร?

ภาษีความหวาน คืออะไร? ภาษีความหวาน กลไกสร้างสุขภาพคนไทยด้วยมาตรการภาษี ได้เดินหน้าเข้าสู่ระยะที่ 3 ในวันที่ 1 เม.ย.2566 ตามแนวทางปรับโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่ใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ส่วนเครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ที่ให้ความหวานตัวใดต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นบ้าง ?   อัตราภาษีเครื่องดื่มรสหวาน อัตราภาษีความหวานคํานวณจากปริมาณน้ําตาลต่อ 100 มิลลิลิตร โดยอัตราภาษีความหวานของเครื่องดื่มที่กรมสรรพสามิตใช้จะแบ่งเป็น 4 ระยะ ซึ่งค่อย ๆ เพิ่มอัตราภาษีในแต่ละระยะ เพื่อให้ เวลาผู้ประกอบ การที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มรสหวานได้ปรับตัว โดยปัจจุบันเราอยู่นะระยะที่ 3 (ระหว่าง 1 เมษายน 2566 – 30 กันยายน 2567) อัตราภาษีความหวาน มีรายละเอียดดังนี้ ต่ำกว่า 6 กรัม ไม่ต้องเสียภาษี 6-8 กรัม เสียภาษี 0.3 บาทต่อลิตร 8-10 กรัม เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร …

ภาษีความหวาน คืออะไร? Read More »

วิกฤติอสังหาฯ จีน (Chinese Property Crisis)

วิกฤติอสังหาฯ จีน (Chinese Property Crisis) เกิดขึ้นจากการเจริญเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีน ทำให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนมีการกู้ยืมเงินอย่างมากมายเพื่อลงทุนในโครงการต่าง ๆ ซึ่งทำให้มีหนี้สินสะสมสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มนโยบายกำกับการกู้ยืมเงินและการควบคุมราคาที่ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ล้มเหลว และบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บางแห่งล้มละลายลงเกิดความไม่มั่นคงในตลาดทรัพย์สินและทรัพย์สินต่าง ๆ ในประเทศจีน และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมากมาย โดยเฉพาะในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเอเชียและยุโรป โดยวิกฤตนี้เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2564-2565 (2021-2022) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) ได้รายงานว่าผู้ปล่อยสินเชื่อทั่วโลก (Global Creditors) กำลังเผชิญกับปัญหาที่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จีนไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ เพราะขาดสภาพคล่องที่เกิดปัญหาขึ้นจากภาคอสังหาริมทรัพย์มานานถึง 3ปีติดต่อกันจากวิกฤติโควิด-19 สำหรับผู้ปล่อยกู้ที่ไม่ได้รับเงินคืนเรียกร้องให้ผู้ผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรรับผิดชอบกรณีดังกล่าว แต่เนื่องด้วย “กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้” (Debt Restructuring Processes) ที่ยาวนานและ “การฟ้องร้องดำเนินคดี” เป็นไปได้ยากที่จะเกิดผลสำเร็จ ขณะที่ผู้เสียหายส่วนใหญ่ยื่นคำร้องขอให้ปิดกิจการ (Winding-up Petitions) ซึ่งท้ายที่สุดอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องให้เกิดการขายกิจการเหล่านั้นด้วยราคาแบบลดกระหน่ำ และมีส่วนน้อยไม่กี่ที่รายแจ้งความจำนงให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาดำเนินการกรณีดังกล่าวตามขั้นตอนของทางการ แม้จะมีความคืบหน้าเกี่ยวกับข้อเสนอการปรับปรุงหนี้ (Debt Revamp Proposals) บ้าง ทว่า “ไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป” …

วิกฤติอสังหาฯ จีน (Chinese Property Crisis) Read More »

คำนวณค่าโอนที่ดิน ค่าจดจำนอง ปี2566

การซื้อขายที่ดินหรือที่พักอาศัย นอกจากมูลค่าที่อสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจ่ายแล้ว ก็ยังมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ มาด้วย ก็คือ ค่าใช้จ่ายในการโอน ทั้งโอนบ้าน โอนที่ดิน มาดูกันว่าเราต้องเสียค่าอะไรบ้าง ค่าโอนที่ดิน ค่าจดจำนอง ต้องเสียเท่าไหร่ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายในการโอนอสังหาริมทรัพย์ ในการซื้อขายบ้านและที่ดิน จะมีค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เราต้องเสียให้กับสำนักงานที่ดิน ดังนี้ -ค่าคำขอโอนที่ดิน 5 บาท -ค่าอากร 5 บาท -ค่าพยาน 20 บาท -ค่าธรรมเนียมในการโอน -ค่าจดจำนอง -ค่าอากรแสตมป์ -ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ -ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ค่าธรรมเนียมในการโอน หรือ ค่าโอนที่ดิน คิดเป็น 2% ของราคาประเมินหรือราคาขาย แต่ในปี 2566 ครม. มี มติปรับลดค่าธรรมเนียมจาก 2% เป็น 1% เพื่อกระตุ้นให้มีการซื้อ-ขายอสังหาฯ มากขึ้น และสนับสนุนให้ประชาชน มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยมีเงื่อนไขคือ เฉพาะการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัย ทั้งมือหนึ่งและมือสอง ได้แก่ …

คำนวณค่าโอนที่ดิน ค่าจดจำนอง ปี2566 Read More »

อัปเดตดอกเบี้ย รีไฟแนนซ์บ้าน ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปี2566 (ล่าสุด)

รีไฟแนนซ์ (Refinance) คืออะไร คือ การกู้เงินก้อนใหม่เพื่อไปชำระคืนกับเจ้าหนี้เดิม โดยเงินกู้ก้อนใหม่นั้นมักจะมีเงื่อนไขให้การกู้ยืมที่ดีมากกว่าข้อดีของการ “รีไฟแนนซ์” คือ จะช่วยให้เราผ่อนบ้านได้หมดเร็วขึ้น ถ้าเราจ่ายค่างวดเท่าเดิมแต่จ่ายส่วนที่เป็นดอกเบี้ยน้อยลง เราก็จะลดเงินต้นได้เร็วมากขึ้น หรือบางคนที่ผ่อนบ้านไปแล้วเกิดปัญหา เงินติดขัด หมุนไม่ทัน ก็สามารถ “รีไฟแนนซ์” เพื่อขอลดค่างวดที่ต้องจ่ายต่อเดือนลงหรือเป็นการยืดระยะเวลาในการผ่อนให้นานขึ้นได้ รีเทนชั่น (Retention) คืออะไร คือ การขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิม ซึ่งเราสามารถเดินเข้าไปเจรจากับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินว่าขอลดดอกเบี้ยได้ ซึ่งการทำ “Retention” อาจจะไม่ได้อัตราดอกเบี้ยที่น่าดึงดูดเท่ากับเราไปขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ แต่การทำ Retention จะช่วยลดความยุ่งยากและไม่ต้องมาคำนวณเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย รวมไปถึงใช้เวลาเพียง 7 วันเท่านั้น ในการขออนุมัติ ถึงจะรู้ผล เร็วกว่าการขอรีไฟแนนซ์อย่างมาก เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการตรวจสอบเอกสาร ตรวจสอบประวัติผู้กู้ เนื่องจากธนาคารเดิมมีข้อมูลของเราอยู่แล้ว อ้างอิง : MONEY BUFFALO 

เมื่อเจ้าของบัตรเครดิตเสียชีวิต ใครต้องรับผิดชอบหนี้?

กระทรวงยุติธรรม เสนอกฎหมายน่ารู้ ตอน : เมื่อเจ้าของบัตรเครดิตเสียชีวิต ใครต้องรับผิดชอบหนี้ ? บิดาหรือมารดาเป็นเจ้าของบัตรเครดิตผู้มีหน้าที่รับภาระต้องเป็น “บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย” เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ชำระหนี้ได้ แต่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่จำเป็นต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน หากไม่มีทรัพย์มรดกตกทอด บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว คู่สมรสเป็นเจ้าของบัตรเครดิตกรณีที่มีการจดทะเบียนสมรส และหนี้บัตรเครดิตเกิดขึ้นภายหลังการสมรส สามีหรือภรรยาของคู่สมรสที่เสียชีวิต อาจต้องเป็นผู้รับผิดชอบหนี้สิน ก้อนนั้น ๆ หากพิสูจน์ได้ว่า หนี้ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายร่วมกันในระหว่างสมรส ซึ่งถือว่าเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยา ผู้ถือบัตรเสริมเนื่องจากบัตรเสริมและบัตรหลักของบัตรเครดิตนั้น “ใช้วงเงินร่วมกัน” จึงต้องร่วมกันรับผิดชอบหนี้บัตรเครดิตทั้งนี้ หนี้บัตรเครดิต มีอายุความ 2 ปี นับแต่มีการชำระหนี้แก่สถาบันการเงินครั้งสุดท้าย และเป็น “คดีแพ่ง” ไม่ใช่คดีอาญาจึงไม่มีโทษจำคุก แต่หากไม่ชำระหนี้ สถาบันการเงินมีสิทธิบังคับคดีด้วยการยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดหรือหักเงินเดือน ข้อมูลจาก : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 มาตรา 1627มาตรา 1629 มาตรา 1490 มาตรา 193/34 (7) อ้างอิง : กระทรวงยุติธรรม MINISTRE OF JUSTICE (moj.go.th)