หอการค้าและสมาคมหอการค้าไทยเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการแทนตนและสนับสนุนธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งมีภารกิจหลักในการส่งเสริมและประสานงานกับภาคเอกชนและรัฐบาลเพื่อพัฒนาทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ รวมถึงการสร้างเครือข่ายธุรกิจและการทำงานร่วมกันที่เกี่ยวข้องกับการค้า การลงทุน และการพัฒนาธุรกิจทียั่งยืนในประเทศไทย.
หอการค้าและสมาคมหอการค้าไทยมักเป็นที่รู้จักในการเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการเสนอนโยบายและคำแนะนำต่อรัฐบาลเพื่อการปฏิรูปและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจในประเทศไทยอย่างเหมาะสมและยั่งยืน.
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย รวมทั้งสมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นมากกว่า 50 สมาคม ได้แสดงจุดยืนว่าไม่เห็นด้วยกับนโยบายการ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท โดยการปรับค่าจ้างขั้นต่ำต้องเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกลไกการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่น โดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิต ราคาสินค้าและบริการ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
ซึ่งการที่รัฐบาลจะปรับให้ค่าแรงขั้นต่ำทั้งประเทศเท่ากันที่ 400 บาทนั้นค่อนข้างที่จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศไทย ทำให้เกิดความไม่มั่นใจถึงต้นทุนของการทำธุรกิจและนโยบายภาครัฐ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ยังมีปัญหาจากปัจจัยหลายประการที่มีความผันผวน
“หอการค้า”ยื่น4ข้อเสนอถึงรัฐบาล
ดังนั้น จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาล คือ
1.การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปีควรปรับตามที่กฎหมายบัญญัติกำหนดไว้ในมาตรา 87 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ส่วนการยกระดับรายได้ลูกจ้างให้สูงขึ้นก็ทำได้โดยกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน
2.ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ โดยไม่คำนึงถึงผลการศึกษาและการรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) อีกทั้ง ปัจจุบัน รัฐบาลได้ดำเนินการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2567 ไปแล้ว 2 ครั้ง จึงไม่ควรปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปีเป็นครั้งที่ 3
3.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเพียงอัตราค่าจ้างของแรงงานแรกเข้าที่ยังไม่มีฝีมือ แต่การปรับอัตราจ้างควรพิจารณาจากทักษะฝีมือแรงงาน ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งส่งเสริมมาตรการทางภาษี ลดอุปสรรคต่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการและแรงงาน ให้ความสำคัญกับการ UP-Skill & Re-Skill และ New Skill เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะฝีมือให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเพิ่มผลิตภาพแรงงาน
4.การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉพาะพื้นที่จังหวัดและประเภทธุรกิจ ควรให้มีการรับฟังความคิดเห็น และศึกษาถึงความพร้อมของแต่ละพื้นที่จังหวัดและประเภทธุรกิจ รวมทั้งควรให้มีการหารือร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจก่อนปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉพาะพื้นที่จังหวัดและประเภทธุรกิจ ดังกล่าว
สรุป การปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็น 400 บาทต่อวันทั่วประเทศมีผลกระทบต่อภาคเอกชนและการลงทุนในประเทศไทย การปรับอัตราค่าจ้างควรพิจารณาจากทักษะฝีมือแรงงานตามมาตรฐานและความต้องการของตลาดแรงงาน และควรมีการร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนและรัฐบาลในการหารือและตกลงกันเพื่อความยุติธรรมและการปรับที่เหมาะสมต่อสภาพการทำงานและความเป็นอยู่ของแรงงานในประเทศไทยในระยะยาว.