หนี้บัตรเครดิตพุ่ง 1 ล้านใบ! จ่ายขั้นต่ำ 8% ไหวมั้ย?
ในยุคปัจจุบัน บัตรเครดิตกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการใช้จ่าย สะดวก รวดเร็ว และทันใจ สำหรับใครหลายๆคน แต่ในขณะเดียวกัน บัตรเครดิตก็เปรียบเสมือนดาบสองคม ที่พร้อมจะฟาดฟันผู้ใช้ที่ประมาท ทำให้เป็นหนี้เป็นสิน และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต จากข้อมูลของเครดิตบูโร ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2567 พบว่า ยอดหนี้เสียจากบัตรเครดิตพุ่งสูงถึง 1 ล้านใบ คิดเป็นมูลค่ากว่า 6.4 หมื่นล้านบาท เติบโต 14.6% yoy สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเศรษฐกิจและภาระหนี้สินครัวเรือนที่ประชาชนแบกรับ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการปรับขึ้นอัตราการชำระขั้นต่ำบัตรเครดิตเป็น 8% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ส่งผลให้ประชาชนมีภาระในการชำระหนี้เพิ่มขึ้น และจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 10% ในปี 2568
กลุ่ม Gen Y ได้รับผลกระทบหนัก
จากข้อมูลพบว่า กลุ่ม Gen Y เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากหนี้เสียบัตรเครดิตมากที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เปิดบัตรเครดิตใหม่จำนวนมาก และยังมีประสบการณ์การเงินน้อย ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลให้รายได้ของกลุ่มนี้ลดลง จากข้อมูลจะพบว่า
เปิดไม่เกิน 2 ปี 36,000 ใบ
เป็น Gen Y 20,000 ใบ
เปิดมากกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปี 39,000 ใบ
Gen Y 27,000 ใบ
Gen X 9,200 ใบ
เปิดมากกว่า 4 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี 45,000 ใบ
Gen Y 30,000 ใบ
Gen X 1,2000 ใบ
หนี้กำลังจะเสียพุ่ง 32.4%
นอกจากยอดหนี้เสียที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังพบว่า ยอดหนี้กำลังจะเสีย (SML) ก็พุ่งสูงถึง 32.4% คิดเป็นยอดเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท ภายใน3 เดือน เป็นสัญญาณที่ค่อนข้างอันตรายเลยครับถ้าหากกลายไปเป็นหนี้เสียแล้วจะขึ้นไปอยู่ที่เท่าไหร่กัน เพราะว่าเฉลี่ยแล้วคนเรามีบัตรเครดิตอยุ่ที่ 2-3 ใบประกับกับที่ค่าชำระเพิ่มมาอีกใบละ 3% ทำให้หลายๆคนขาดความสามารถในการชำระหนี้ได้ไหว
ถึงแม้ว่านโยบายการปรับขึ้นของการจ่ายเงินขั้นต่ำมีเป้าหมายในการช่วยให้เงินต้นลดลงมากขึ้นนั้นจะมีความหวังดีในการช่วยเหลือลูกหนี้ให้เงินต้นหมดไวขึ้นแต่ในยุคนี่ที่ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่ารายได้ของลูกหนี้จะมีเท่าเดิมนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องยากในการที่ลูกหนี้จะแบกรับเอาไว้ไหว
อย่างไรก็ตามหากต้องการที่จะช่วยเหลือลูกหนี้อาจจะมีทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้อยู่อีกดีกว่าปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปซึ่งจะเป็นการสร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจไทยอีกด้วย
แนวทางจากเครดิตบูโร
เครดิตบูโร ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลเครดิต ได้ริเริ่มโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้เสีย ดังนี้
- โครงการแก้ไขหนี้เสีย: ให้คำปรึกษา และแนวทางการแก้ไขหนี้เสียแก่ลูกหนี้
- บริการไกล่เกลี่ยหนี้สิน: ไกล่เกลี่ยระหว่างลูกหนี้ และเจ้าหนี้เพื่อหาทางออกร่วมกัน
- ข้อมูลความรู้ทางการเงิน: ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครดิต การวางแผนการเงิน และการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
- สื่อประชาสัมพันธ์: รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาหนี้เสีย และวิธีการป้องกัน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊กส่วนตัว คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)
เนื้อหาที่น่าสนใจ หอการค้าไทยแห่งประเทศไทยยืนชัดไม่สนับสนุนนโยบาย ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400