วิกฤติอสังหาฯ จีน (Chinese Property Crisis)

วิกฤติอสังหาฯ จีน (Chinese Property Crisis) เกิดขึ้นจากการเจริญเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีน ทำให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนมีการกู้ยืมเงินอย่างมากมายเพื่อลงทุนในโครงการต่าง ๆ ซึ่งทำให้มีหนี้สินสะสมสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มนโยบายกำกับการกู้ยืมเงินและการควบคุมราคาที่ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ล้มเหลว และบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บางแห่งล้มละลายลงเกิดความไม่มั่นคงในตลาดทรัพย์สินและทรัพย์สินต่าง ๆ ในประเทศจีน และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมากมาย โดยเฉพาะในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเอเชียและยุโรป โดยวิกฤตนี้เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2564-2565 (2021-2022)

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) ได้รายงานว่าผู้ปล่อยสินเชื่อทั่วโลก (Global Creditors) กำลังเผชิญกับปัญหาที่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จีนไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ เพราะขาดสภาพคล่องที่เกิดปัญหาขึ้นจากภาคอสังหาริมทรัพย์มานานถึง 3ปีติดต่อกันจากวิกฤติโควิด-19

สำหรับผู้ปล่อยกู้ที่ไม่ได้รับเงินคืนเรียกร้องให้ผู้ผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรรับผิดชอบกรณีดังกล่าว แต่เนื่องด้วย “กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้” (Debt Restructuring Processes) ที่ยาวนานและ “การฟ้องร้องดำเนินคดี” เป็นไปได้ยากที่จะเกิดผลสำเร็จ ขณะที่ผู้เสียหายส่วนใหญ่ยื่นคำร้องขอให้ปิดกิจการ (Winding-up Petitions) ซึ่งท้ายที่สุดอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องให้เกิดการขายกิจการเหล่านั้นด้วยราคาแบบลดกระหน่ำ และมีส่วนน้อยไม่กี่ที่รายแจ้งความจำนงให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาดำเนินการกรณีดังกล่าวตามขั้นตอนของทางการ

แม้จะมีความคืบหน้าเกี่ยวกับข้อเสนอการปรับปรุงหนี้ (Debt Revamp Proposals) บ้าง ทว่า “ไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป” (China Evergrande Group) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของจีน แสดงความกังวลว่า บรรดานักลงทุนอาจต้องรออีกหลายปีกว่าจะได้รับเงินคืน

ข้อมูลที่รวบรวมโดยบลูมเบิร์กระบุว่า การค้างชำระหนี้พันธบัตรของภาคเอกชน (Corporate Delinquency) ในจีนปี 2565 รวมอยู่ที่ 4.65 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.53 ล้านล้านบาท) ซึ่งผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ผิดนัดชําระหนี้พันธบัตรมากกว่า 140 รายการ มูลค่ารวมทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่ที่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.65 ล้านล้านบาท) ตามมูลค่าพันธบัตรที่ปล่อยออกไปทั้งหมดในปีเดียวกัน

หนึ่งในทางแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ คือไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ปอาจต้องสลับพันธบัตรชนิดเก่ากับพันธบัตรชนิดใหม่พร้อมยืดวันหมดอายุสินทรัพย์ให้ยาวกว่าเดิมเป็น 12 ปี

 

แหล่งอ้างอิง (bangkokbiznews.com)